Smart Switch

หากคุณกำลังเลือก Smart Switch ที่จะใช้งานในบ้าน แล้วสงสัยว่าตัวเลือกที่เขียนว่า มี N ไม่มี N หมายถึงอะไร ต้องเลือกซื้อแบบไหนดี
โพสนี้ จะมาอธิบายถึงการเลือกสวิทซ์ที่เหมาะสมให้ครับ
.
อุปกรณ์ Smart Switch โดยทั่วไปแล้วก็จะเหมือนกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วๆไป ที่ต้องการไฟเลี้ยงตลอดเวลา
ถ้าเทียบแล้วก็จะเหมือนพัดลม หรือ หรือโคมไฟ ที่เวลาเสียบปลั๊กเราจะใช้ไฟ 2 เส้นคือขั้วบวก (L) กับ ขั้วลบ (N)
ดังนั้นเพื่อให้สวิทตัวนี้ทำงานได้อย่างมีสเถียรภาพ สายไฟที่เดินไปรอไว้ก็จะต้องมีสาย L และ สาย N
ดังนั้น ถ้าหากเป็นบ้านที่สร้างใหม่ หรือ กำลังรีโนเวท สามารถเดินสาย L และ N ได้ ก็จะขอแนะนำให้เดินสายไว้ทุกจุดเลยครับ
บางจุด เราอาจจะยังไม่ใช้ Smart Switch ในตอนนี้ แต่ในอนาคตก็ไม่แน่ ซึ่งถึงตอนนั้นการแก้ไขจะลำบากมากกว่าทำไว้ตั้งแต่แรกครับ
.
แต่เห็นมีรุ่นที่ไม่ต้องใช้สาย N ด้วยนี่หน่า ทำไม่ไม่ใช้รุ่นนั้นแทนละ
เนื่องจากหลายๆบ้านติดข้อจำกัดในการเดินสายใหม่ เช่นรีโนเวทบ้านเดินแบบไม่ต้องการรื้อสายไฟ หรือ ต้องการเปลี่ยนแต่สวิทซ์ไฟใหม่อย่างเดียว ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องหาวิธีทำให้สวิทซ์สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้สาย N ซึ่งการทำงานของมันฝืนธรรมชาติของเครื่องใช้ไฟฟ้าครับ เนื่องจากพอเราไม่มีสาย N การต่อสายของตัวสวิทซ์ไฟก็จะไม่ครบวงจร โดยขาดขั้วลบไป ทำให้สวิทซ์แบบนี้มีข้อเสียเมื่อเทียบกับรุ่นที่ต้องใช้สาย N ก็คือ 1. ราคาแพงว่ารุ่นมี N 2.สวิทซ์ไฟจะค่อนข้างอ่อนไหวกับไฟตก ไฟกระชาก บางทีสวิทซ์ไม่ตอบสนองหลัง ไฟตก ไฟกระชาก อาจต้องไปปิดเบรกเกอร์เพื่อ reset การทำงานของสวิทซ์ 3. อาจต้องต่ออุปกรณ์เพิ่มเติมที่ตัวหลอดไฟ (Capacitor – คร่อม C) หากมีไฟกระพริบ 4. สวิทซ์ไฟที่ไม่ได้เดินสาย N ไว้ส่วนใหญ่จะไม่ทำหน้าที่ Repeater ช่วยกระจายสัญญาณ ทำให้เราต้องใช้อุปกรณ์อื่นๆ เพื่อช่วยกระจายสัญญาณเอง ในทางกลับกัน หากเราใช้สวิทซ์ที่มีสาย N สัญญาณ Smart Home จะครอบคลุมทั่วบริเวณได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากมีสวิทซ์แต่ละตัวช่วยกันกระจายให้กันและกัน นั่นเอง
.
สังเกตอย่างไรว่ามี สาย N มาที่สวิตช์หรือไม่
โดยทั่วๆไป ช่างไฟจะไม่เดินสาย N มาที่สวิทซ์อยู่แล้วครับ เนื่องจากสวิทซ์ธรรมดาไม่จำเป็นต้องใช้สาย N เค้าก็จะไม่เดินมาให้เปลืองเวลา และเปลืองสายไฟ ดังนั้นหากเราต้องการเตรียมบ้านสำหรับ Smart Home ตั้งแต่แรก รบกวนแจ้งช่างไฟ และเน้นย้ำกับเค้าเลยครับว่าต้องการใช้ Smart Home ให้เดินสาย N มาทิ้งไว้ที่สวิทซ์ด้วย
.
การทำงานของสวิทซ์ไฟที่ไม่ใช้สาย N
ซึ่งการทำงานของสวิทซ์แบบนี้ ก็คือ แม้สวิตช์ไฟอยู่ในสถานะปิด (OFF) แต่เมื่อเราต่อวงจรเข้ากับหลอดไว้ สวิทซ์จะปล่อยให้มีกระแสไฟบางส่วนไหลในวงจรซึ่งเพียงพอให้อุปกรณ์ที่ใช้กระแสไม่มากทำงานได้ แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อกระแสนั้นมากเกินไป จะพบว่าหลอดไฟมีการกระพริบอยู่ตลอดเวลา แต่สามารถแก้ปัญหาด้วยการคร่อม Capacitor (C) เพื่อไม่ให้ N ไปครบวงจรที่ N ของหลอดไฟนั่นเอง แต่ถ้าเป็นหลอดไฟที่ใช้กระแสไฟมาก อาจไม่ต้องคร่อม C เนื่องจากกระแสที่ไหลผ่านหลอดไฟไม่เพียงพอที่จะทำให้หลอดไฟสว่างได้
.
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
สายไฟที่ใช้ในบ้านมี 3 สาย คือ

  1. สาย L = Line เป็น สายที่มีศักย์ไฟฟ้า 220V เมื่อเช็คด้วยไขควงลองไฟจะมีไฟสว่างขึ้น
  2. สาย N = Neutral เป็น สายที่ไม่มีไฟ มีศักย์ไฟฟ้าเทียบกับพื้นดินเป็น 0 ในสภาวะปกติสามารถสัมผัสตัวนำด้าน N ได้ เมื่อเช็คด้วยไขควงลองไฟจะไม่มีไฟติด
  3. สาย Ground เป็นสายไฟที่ต่อลงดิน ใช้เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยจะให้กระแสไหลลงดินแทนที่จะผ่านตัวผู้ใช้งาน โดยทั่วไปจะใช้สีเขียวเหลืองครับ
Share this story
Share on facebook
Share on twitter
Share on telegram
Share on whatsapp
Share on pinterest

Related stories